หลักสูตรเศรษฐศาสตบัณฑิต

หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต

[ Bachelor of Economics ]

เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ หน่วยเศรษฐกิจในสังคม จะมองตั้งแต่ครัวเรือน ธุรกิจหรือบริษัท และระดับประเทศ ภาพรวมของตลาดการค้าต่าง ๆ ทั้งผู้ผลิต ผู้ซื้อ ผู้ขาย มีพฤติกรรมอย่างไร ตลอดจนพฤติกรรมระดับใหญ่ ที่เราเรียกว่า เศรษฐกิจมหาภาค การเงิน การผลิต มีความสัมพันธ์กันอย่างไร วิเคราะห์นโยบาย หาเหตุผล และคิดแนวทางการแก้ไขปัญหา

1. เศรษฐศาสตร์คืออะไร?

เมื่อพูดถึง ‘เศรษฐศาสตร์’ สิ่งแรกที่หลายๆ คนต้องนึกถึงก็คงจะไม่พ้นเรื่องของเศรษฐกิจ ซึ่งมันก็เป็นแบบนั้นจริงๆ เพราะว่าเศรษฐศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องการวิเคราะห์ คำนวณ ซึ่งจะมีตัวเลขและกราฟเข้ามาเกี่ยวข้องเยอะมากๆ ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ต่างๆ มากมาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้มักจะนำมาเชื่อมโยงกับเนื้อหาที่เรียนอยู่เสมอ หรือพูดง่ายๆ คือ เศรษฐศาสตร์จะเป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับธนาคาร หุ้น หรืออาชีพที่มีการใช้ตัวเลขเชิงสถิติเข้ามาเกี่ยวข้อง “เศรษฐศาสตร์จึงเป็นวิชาที่ว่าด้วยการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด ให้ตรงกับความต้องการที่ไม่จำกัดของมนุษย์” นั่นเอง

2. ไม่เก่งคณิตศาสตร์ จะเรียนได้หรือไม่?

ความจริงต้องบอกไว้ว่า ถึงแม้การเรียนเศรษฐศาสตร์จะมีเรื่องของตัวเลขเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะต้องเก่งคำนวณเหมือนพวกวิศวกร หรือนักคณิตศาสตร์ แต่เศรษฐศาสตร์จะเป็นเรื่องของทฤษฎี แบบจำลองคณิตศาสตร์ที่เข้ามาเกี่ยวข้องมากกว่า ดังนั้น เมื่อเห็นกราฟมากมายโผล่ตลอดการเรียน ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะต้องท่องจำ เพราะว่าพวกกราฟนี้ล้วนเขียนตามทฤษฎีทั้งนั้น ซึ่งล้วนต้องอาศัยความเข้าใจที่สำคัญมากกว่าการคำนวณตัวเลข

3. แล้วเศรษฐศาสตร์เรียนวิชาเกี่ยวกับอะไรบ้าง?

จริงๆ แล้ววิชาของเศรษฐศาสตร์นั้นมีเยอะมาก และสามารถแบ่งได้เป็น 3 หมวดชัดๆ ดังนี้

- ทฤษฎี

ในส่วนนี้น้องๆ ต้องอาศัยความจำอย่างมาก เพราะถ้าจะเรียนเศรษฐศาสตร์ ‘ทฤษฎี’ คือสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะทุกอย่างมีเหตุและผลที่ต้องได้รับการอ้างอิงหมด และทฤษฎีของเศรษฐศาสตร์ก็มีเยอะอยู่เหมือนกัน เช่น เศรษฐศาสตร์พัฒนา กฎหมายเศรษฐกิจ เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ บัญชีรัฐ หรือแม้แต่ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ เราก็ต้องจดจำครับ อย่ากลัวว่าจะยาก เพราะสิ่งเหล่านี้ต้องควบคู่ไปกับความเข้าใจ

- คำนวณ

อย่างที่บอกไปว่าเศรษฐศาสตร์ถึงจะมีตัวเลข มีการคำนวณ แต่ก็เป็นการคำนวณที่เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ ไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อนเท่าคณิตศาสตร์ล้วนๆ ยกตัวอย่างเช่น วิชาสถิติ แคลคูลัส ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์ทั้งนั้น โดยเฉพาะวิชา ‘เศรษฐมิติ’ หลายคนอาจบ่นว่ายาก เพราะว่าวิชานี้นอกจากจะต้องคำนวณแล้ว ยังต้องอาศัยทฤษฎีเข้ามาเกี่ยวข้อง

- ประยุกต์

ใเป็นอย่างชื่อที่บอกว่า ‘ประยุกต์’ ก็จะมีการประยุกต์ทฤษฎีเข้ากับการวิเคราะห์พวกกราฟต่างๆ นั่นเอง ตัวอย่างวิชาที่เห็นชัดๆ จะมี เศรษฐศาสตร์จุลภาค เศรษฐศาสตร์มหภาค การเงิน การคลัง เป็นต้น

4.‘ทักษะความคิด’ คือสิ่งที่สำคัญมาก

อย่างแรกเลยถ้าน้องๆ คิดจะเข้ามาเรียนคณะเศรษฐศาสตร์ น้องต้องเป็นคนชอบคิด ชอบวิเคราะห์ เพราะว่าจะเอาแต่จำทฤษฎี หรือรักแค่การคำนวณอย่างเดียว มันก็อาจจะไม่ได้ เพราะว่าโลกของเราเปลี่ยนแปลงทุกวัน เศรษฐกิจก็เปลี่ยนแปลงทุกวันเช่นกัน เราจะต้องคอยศึกษาและติดตามพฤติกรรมของเศรษฐกิจ ซึ่งรวมไปถึงพฤติกรรมมนุษย์ด้วย เมื่อเรียนเศรษฐศาสตร์ เราก็ต้องตามทันโลก พร้อมตั้งรับกับสิ่งใหม่ๆ เสมอ การคิด และการวิเคราะห์ก็คือสิ่งที่สำคัญมากๆ เมื่อเลือกเรียนเศรษฐศาสตร์

5.‘ทักษะการสื่อสาร’ คือสิ่งที่จำเป็น

ถึงแม้ว่าเราจะเป็นนักวิเคราะห์เศรษฐกิจได้ดีแค่ไหน แต่ถ้าเราเป็นคนที่ขาดทักษะการสื่อสาร ก็อาจจะยากหน่อยสำหรับการเรียนเศรษฐศาสตร์ เพราะว่าในการทำงานจริงๆ เราจะต้องสามารถอธิบายให้แก่ลูกค้า หรือใครก็ตามที่ต้องการจะลงทุนกับเรา เพื่อให้เข้าใจหลักการต่างๆ ที่อาจจะเข้าใจได้ยาก ให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่ายมากที่สุด เพราะการทำงานในสายนี้ จะต้องช่วงชิงต่อการเพิ่มลูกค้าให้มากขึ้น ดังนั้น การสื่อสารก็ถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็น และเป็นเรื่องที่ท้าทายการทำงานอยู่เสมอ

6. งานสายตรงของเศรษฐศาสตร์มีอะไรบ้าง?

ต้องบอกไว้ว่า ‘เศรษฐศาสตร์ไม่ใช่วิชาชีพสายตรง’ เหมือนพวกแพทย์ ครู พยาบาล แต่สายงานของคนจบเศรษฐศาสตร์นั้นก็กว้างมากๆ และสามารถทำได้หลายอย่าง ถ้าต้องการทำงานที่เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์โดยตรง จะมีอาชีพต่างๆ ที่สามารถทำได้ เช่น เศรษฐกร นายธนาคาร พนักงานธนาคาร โบรกเกอร์วิเคราะห์หุ้น นักวิเคราะห์สินเชื่อ ตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ นักลงทุน นักวิเคราะห์ข้อมูล เจ้าหน้าที่บริหารกองทุน ที่ปรึกษาด้านการเงิน นักวิเคราะห์ตลาด นักวางแผนการตลาด นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เจ้าหน้าที่ของบริษัทหรือหน่วยงานต่างๆ เป็นต้น

7. จบเศรษฐศาสตร์สามารถทำงานอื่นๆ ได้หลากหลายแขนง

อย่างที่บอกไปว่า เศรษฐศาสตร์ไม่ได้โฟกัสแค่เรื่องตัวเลขแค่อย่างเดียว แต่มันคือการคิด วิเคราะห์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยการพัฒนาอยู่เสมอ และโดยเฉพาะคนที่มีทักษะความคิดเป็นเหตุเป็นผลแบบนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้และประกอบอาชีพได้หลากหลายสายงาน เช่น ฝ่ายการตลาด ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ฝ่ายการเงิน เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละบุคคลด้วยครับ

 

 

ข้อมูลจาก

http://www.trueplookpanya.com/blog/content/56622



    เศรษฐศาสตร์แนวทางในการประกอบอาชีพ ของนักเศรษฐศาสตร์ในภาคเอกชน สามารถเป็นผู้บริหารในโลกธุรกิจยุคดิจิตอล เป็นผู้วางแผน ผู้วิเคราะห์ ผู้วางกลยุทธ์ ผู้กำหนดนโยบายและเป็นที่ปรึกษาทางด้านการลงทุน สถาบันการเงินต่าง เช่น ธนาคาร ตลาดและบริษัทหลักทรัพย์ บริษัทธุรกิจเอกชน หรือเป็นผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัวในโลกธุรกิจยุคดิจิตอล

  • โบรกเกอร์
  • เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเคราะห์การลงทุน
  • เจ้าหน้าที่ฝ่ายสินเชื่อ
  • นักวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินของลูกค้า
  • ที่ปรึกษาทางการเงิน
  • ทำงานเกี่ยวกับหุ้นและตลาดหุ้น
  • นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์
  • นักวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เพ็ญศิริ สมารักษ์ 
ตำแหน่ง : ประธานหลักสูตร

  • ศ.ม.(เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ)
    มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • บธ.บ.(การตลาด)
    มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช

 

Research Contact

รองศาสตราจารย์ สุรีย์พร พานิชอัตรา
  ตำแหน่ง : รองศาสตราจารย์

  • วท.ม.(เศรษฐศาสตร์)
    มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ศ.บ.(เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ)
    มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

 

Research Contact

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธงชัย ศรีเบญจโชติ
ตำแหน่ง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์

  • วท.ม.(เศรษฐศาสตร์)
    มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ศ.บ.(เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ)
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

 

Research Contact

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิศิษฐ์ ชัยสุวรรณถาวร
  ตำแหน่ง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์

  • ศ.ม.(เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ)
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • ศ.บ.(ทฤษฏีเศรษฐศาสตร์)
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

 

Research Contact

อาจารย์ฐิตา ชัยวิบูลย์ผล
  ตำแหน่ง : อาจารย์

  • -
  • -

 

Research Contact