งานประกันคุณภาพการศึกษา

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

" คณะวิทยาการจัดการเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านบริหารจัดการและพัฒนาทักษะตามมาตรฐานวิชาชีพ "


องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต


ภารกิจหลักที่สถาบันอุดมศึกษาจะต้องปฏิบัติมี ๔ ประการ คือ การผลิตบัณฑิต การวิจัย การให้บริการทางวิชาการแก่สังคมและการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม การดำเนินการตามภารกิจ ทั้ง ๔ ประการดังกล่าว มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศทั้งระยะสั้นและระยะยาว ปัจจุบันมีปัจจัยภายในและภายนอกหลายประการ ที่ทำให้การประกันคุณภาพการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องเร่งดำเนินการ

อ้างอิง : คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา พ.ศ .๒๕๕๗

SAR : : Self Assessment Report



ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 : ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม


ผลการดำเนินงาน
ในปีการศึกษา 2563 คณะวิทยาการจัดการ เปิดสอนระดับปริญญาตรีทั้งหมด 8 หลักสูตร โดยมีผลรวมของค่าคะแนนประเมินของทุกหลักสูตรเท่ากับ 3.90 ดังนี้

หลักสูตร ผลการประเมิน
บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด 3.91 / ผ่านมาตรฐาน
บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ 4.05 / ผ่านมาตรฐาน
บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการเงินและการลงทุน 3.50 / ผ่านมาตรฐาน
บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ 3.91 / ผ่านมาตรฐาน
บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ 3.95 / ผ่านมาตรฐาน
หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต 3.78 / ผ่านมาตรฐาน
ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยว และนวัตกรรมการบริการ 4.07 / ผ่านมาตรฐาน
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต 4.03 / ผ่านมาตรฐาน
ผลการประเมินโดยรวม 31.2 คะแนนเฉลี่ย 8 หลักสูตร = 3.90 / ผ่านมาตรฐานทุกหลักสูตร
เป้าหมาย ผลการดำเนินงาน คะแนนการประเมินตนเอง
3.85 บรรลุเป้าหมาย 3.90 / ผ่านมาตรฐาน
เอกสารหลักฐาน

ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 : อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก


ผลการดำเนินงาน
ในปีการศึกษา 2563 คณะวิทยาการจัดการ มีอาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกเท่ากับ 5 ท่าน และผลรวมของจำนวนอาจารย์ประจำทั้งหมดเท่ากับ 41.5 ท่าน ดังนี้

เป้าหมาย ผลการดำเนินงาน คะแนนการประเมินตนเอง
1.50 บรรลุเป้าหมาย 1.50 / ผ่านมาตรฐาน

รายชื่ออาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก จำนวน อ.คุณวุฒิปริญญาเอก จำนวนอาจารย์ทั้งหมด
1. ดร.กัลยรัตน์ เจียมโฆสิต
2. ดร.นภดล แสงแข
3. ดร.นิศารัตน์ แสงแข
4. ดร.รมิดา กาญจนะวงศ์
5. ดร.ปัญญณัฐ ศิลาลาย
5 41.5
เอกสารหลักฐาน

ตัวบ่งชี้ที่ 1.3 : อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ


ผลการดำเนินงาน
ในปีการศึกษา 2563 คณะวิทยาการจัดการ มีอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการเท่ากับ 24 ท่าน และผลรวมของจำนวนอาจารย์ประจำทั้งหมดเท่ากับ 41.5 ท่าน ซึ่งทางมหาวิทยาลัยเลือกเป็นกลุ่มสถาบันราชภัฏ ค่าร้อยละของอาจารย์ประจำสถาบันที่มีตำแหน่งทางวิชาการ ที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 เท่ากับร้อยละ 60 ขึ้นไป ดังนี้

เป้าหมาย ผลการดำเนินงาน คะแนนการประเมินตนเอง
4.00 บรรลุเป้าหมาย 4.81

เกณฑ์การประเมิน จำนวน
จำนวนอาจารย์ประจำทั้งหมด รวมทั้งที่ปฏิบัติงานจริงและลาศึกษาต่อ 42
จำนวนอาจารย์ประจำทั้งหมดที่ดำรงตำแหน่งอาจารย์ 6
จำนวนอาจารย์ประจำทั้งหมดที่ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ 24
จำนวนอาจารย์ประจำทั้งหมดที่ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ 2
จำนวนอาจารย์ประจำทั้งหมดที่ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ 0
จำนวนอาจารย์ประจำทั้งหมดที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 26
เอกสารหลักฐาน

ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 : จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ


ผลการดำเนินงาน

ในปีการศึกษา 2562 คณะวิทยาการจัดการ ได้มีการวางแผนให้นักศึกษาแต่ละหลักสูตรทั้ง 8 หลักสูตร คือ 1. สาขาการจัดการ 2. สาขาการเงินการธนาคาร 3. สาขาบัญชี 4. สาขาการตลาด 5. สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ 6. สาขาทรัพยากรมนุษย์ 7. สาขาเศรษฐศาสตร์ และ 8. สาขาการท่องเที่ยว เป็นผู้ร่วมสร้างนวัตกรรมหรือดำเนินกิจกรรมที่เกิดประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของชุมชนได้

โดยการดำเนินงานทั้งหมดนักศึกษาเป็นผู้ร่วมวางแผน ดำเนินงาน และประเมินผลเอง โดยคณะวิทยาการจัดการ มีการจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินการโครงการอบรมสัมมนาเพื่อพัฒนาคุณภาพนักศึกษาให้มีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม กิจกรรม “เจลใสไล่ยุง” ปี 2562 เป็นผู้ดูแลให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา ในการจัดโครงการในครั้งนี้

การดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้ จัดขึ้น ณ โรงเรียนวัดแขมหนู ตำบลตะกาดเง้า อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี วันที่ 6 กันยายน 2562 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจในการทำเจลใสไล่ยุง เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการเกิดความคิดสร้างสรรค์และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และเพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการนำความรู้ที่ได้รับเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพเสริม

จากผลการประเมินโครงการโดยนักศึกษาพบว่า โครงการอบรม ทำเจลใสไล่ยุง เกิดประโยชน์มากที่สุด ร้อยละ 93.33 รองลงมาคือ การต้อนรับและการให้บริการ ร้อยละ 92 (1.8-1.1) (1.8-1.2) (1.8-1.3)

ดังนั้นในปีการศึกษา 2562 คณะวิทยาการจัดการ มีหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรมเท่ากับ 8 หลักสูตร และหลักสูตรทั้งหมดในคณะเท่ากับ 8 หลักสูตร ดังนี้



เป้าหมาย ผลการดำเนินงาน คะแนนการประเมินตนเอง
5.00 5.00 5.00


รายชื่อหลักสูตร เป็นหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการเงินการธนาคาร
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการตลาด
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์
  • หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยว
  • หลักสูตรเศรษฐศาสตบัณฑิต
  • หลักสูตรบัญชีบัณฑิต

  • เจลใสไล่ยุง
  • เจลใสไล่ยุง
  • เจลใสไล่ยุง
  • เจลใสไล่ยุง
  • เจลใสไล่ยุง
  • เจลใสไล่ยุง
  • เจลใสไล่ยุง
  • เจลใสไล่ยุง

ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 : จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ

ผลการดำเนินงาน
ในรอบปีการศึกษา 2563 คณะวิทยาการจัดการ ได้ดำเนินการบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรีตามเกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้

เป้าหมาย ผลการดำเนินงาน คะแนนการประเมินตนเอง
5.00 5.00 5.00
เกณฑ์การประเมิน
1. จัดบริการให้คำปรึกษาทางวิชาการ และการใช้ชีวิตแก่นักศึกษาในคณะ เอกสารหลักฐาน
2. มีการให้ข้อมูลของหน่วยงานที่ให้บริการ กิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร แหล่งงานทั้งเต็มเวลาและนอกเวลาแก่นักศึกษา เอกสารหลักฐาน
3. จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาแก่นักศึกษา เอกสารหลักฐาน
4. ประเมินคุณภาพของการจัดกิจกรรมและการจัดบริการในข้อ1-3 ทุกข้อไม่ต่ำกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5 เอกสารหลักฐาน
5. นำผลการประเมินจากข้อ 4 มาปรับปรุงพัฒนาการให้บริการและการให้ข้อมูล เพื่อส่งให้ผลการประเมินสูงขึ้นหรือเป็นไปตามความคาดหวังของนักศึกษา เอกสารหลักฐาน
6. ให้ข้อมูลและความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพแก่ศิษย์เก่า เอกสารหลักฐาน

ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 : การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี


ผลการดำเนินงาน
ในรอบปีการศึกษา 2563 คณะวิทยาการจัดการ ได้ดำเนินบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี ตามเกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้

เป้าหมาย ผลการดำเนินงาน คะแนนการประเมินตนเอง
5.00 5.00 5.00


เกณฑ์การประเมิน
1.จัดทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในภาพรวมของคณะโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนและการจัดกิจกรรม
เอกสารหลักฐาน
2.ในแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาให้ดำเนินกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ 5 ประการ ให้ครบถ้วนและครอบคลุมมาตรฐานการศึกษา ประกอบด้วย
  • คุณธรรม จริยธรรม
  • ความรู้
  • ทักษะทางปัญญา
  • ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
  • ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
เอกสารหลักฐาน

บัณฑิตที่พึงประสงค์ :

TQF : คุณลักษณะตามที่ สกอ. กำหนด


คุณธรรม จริยธรรม [100%]
ทักษะทางความรู้ [100%]
ทักษะทางปัญญา [100%]
ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ [100%]
ทักษะการวิเคราะห์ การสื่อสารและ IT [100%]
3.จัดกิจกรรมให้ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพการศึกษาแก่นักศึกษา  คำสั่งคณะวิทยาการจัดการที่ 233/2562 ลงวันที่ 8 มีนาคม เรื่องคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสโมสรกิจการนักศึกษาภาคปกติ ของคณะวิทยาการจัดการ ประจำปีการศึกษา 2562

PDCA
Plan (วางแผน) คือ มีการประชุมของคณะกรรมการฯวางแผนจัดทำโครงการเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ทั้ง 3 กิจกรรม
Do (ปฏิบัติ) คือ จัดทำโครงการเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการ ของแต่ละกิจกรรม แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ เพื่อควบคุม ดูแล และดำเนินการ ในแต่ละกิจกรรม
Check (ตรวจสอบ) คือ มีการตรวจสอบการเตรียมความพร้อมของทุกกิจกรรม ว่าสามารถดำเนินการเป็นไปตามแผนและวัตถุประสงค์ที่วางไว้หรือไม่
Act (การดำเนินการให้เหมาะสม) คือ มีการนำข้อมูลของผลที่ได้จากการตรวจสอบไปปรับปรุงในรอบปีการศึกษาต่อไป

เอกสารหลักฐาน
4.ทุกกิจกรรมที่ดำเนินการ มีการประเมินผลความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและนำผลการประเมินมาปรับปรุงการดำเนินงานครั้งต่อไป

คณะวิทยาการจัดการ โดยฝ่ายกิจการนักศึกษารับผิดชอบในการจัดทำโครงการและประเมินผลความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมโดยใช้แบบสอบถามให้ผู้เข้าร่วมโครงการแสดงความคิดเห็น และสรุปผลการดำเนินโครงการทั้ง 5 โครงการตามแผนงานดังต่อไปนี้
1. โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ครั้งที่ 7 กิจกรรม “ทอดกฐินสามัคคี สร้างศาลาปฏิบัติธรรม” ณ วัดโค้งสนามเป้า ต.ท่าช้าง อ.เมือง จ.จันทบุรี วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม 2562
2. โครงการส่งเสริมพัฒนาภาวะผู้นำนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการสู่ความเป็นเลิศตามรอยศาสตร์พระราชาในยุค 4.0 กิจกรรม “การพัฒนาคุณภาพนักศึกษาตามกรอบมาตรฐาน TQF 5 ด้าน วันที่ 15 ธันวาคม 2562 ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคาร 37 คณะวิทยาการจัดการ
3. โครงการการทบทวนแผนพัฒนาและประกันคุณภาพนักศึกษา วันที่ 7 มีนาคม 2563 ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคาร 37 คณะวิทยาการจัดการ
4. โครงการกิจกรรมแข่งขันกีฬาเพื่อส่งเสริมสุขภาพ กีฬาสวนบ้านแก้วเกมส์ ครั้งที่ 46 วันที่ 10-14 กุมภาพันธ์ 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
5. โครงการแข่งขันกีฬา เพื่อส่งเสริมสุขภาพชาว วจก. ตอน ดื่มนมชมฟุตบอลประเพณี คณะวิทยาการจัดการ ครั้งที่ 2 วันพุธที่ 8 มกราคม 2563 ณ สนามกีฬาศักดิ์เดชน์ มรรพ.

เอกสารหลักฐาน
5.ประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา

สรุปผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพนักศึกษา ตามกรอบมาตรฐาน TQF 5ด้าน จำนวน 5 โครงการ ได้คะแนนเฉลี่ย 4.64
1. โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ครั้งที่ 7 กิจกรรม “ทอดกฐินสามัคคี” 4.70
2. โครงการการพัฒนาคุณภาพนักศึกษาตามกรอบมาตรฐาน TQF 5 ด้าน 4.74
3. โครงการการทบทวนแผนพัฒนาและประกันคุณภาพ 4.59
4. โครงการกีฬาสวนบ้านแก้วเกมส์ 4.60
5. โครงการแข่งขันกีฬาดื่มนมชมฟุตบอล 4.57

เอกสารหลักฐาน 1.5
6.นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือปรับปรุงการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษา
เอกสารหลักฐาน
. . . .

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย


SAR : : Self Assessment Report


องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย


ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 : ระบบและกลไกงานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรม


ผลการดำเนินงาน
ในรอบปีการศึกษา 2562 คณะวิทยาการจัดการได้ดำเนินการการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรือ งานสร้างสรรค์ โดยมีผลการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้

เป้าหมาย ผลการดำเนินงาน คะแนนการประเมินตนเอง
3.00 บรรลุเป้าหมาย 5.00
เกณฑ์การประเมิน
1.มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์
เอกสารหลักฐาน
2.สนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์อย่างน้อยในประเด็นต่อไปนี้
  • ห้องปฏิบัติการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือหน่วยวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือศูนย์เครื่องมือ หรือศูนย์ให้คำปรึกษาและสนับสนุนการวิจัย
  • ห้องสมุดหรือแหล่งค้นคว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
  • เสิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย
  • กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น การจัดประชุมวิชาการ การจัดแสดงงานสร้างสรรค์ การจัดให้มีศาสตราจารย์อาคันตุกะหรือศาสตราจารย์รับเชิญ (visiting professor)
เอกสารหลักฐาน
3.จัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ และสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ
เอกสารหลักฐาน
4.มีการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์และนักวิจัย มีการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องอาจารย์และนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น
เอกสารหลักฐาน
5.มีการดำเนินงานกับเครือข่ายความร่วมมือด้านวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมระหว่างสถาบันอุดมศึกษา องค์กรภาครัฐหรือเอกชน ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ
เอกสารหลักฐาน
6.มีระบบและกลไกการนำผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนหรือชุมชนและดำเนินการตามระบบที่กำหนด
เอกสารหลักฐาน
7.มีระบบและกลไกการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นําไปใช้ประโยชน์และดำเนินการตามระบบที่กำหนด
เอกสารหลักฐาน

ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 : เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์


ผลการดำเนินงาน
ในปีการศึกษา 2562 คณะวิทยาการจัดการ เปิดสอนทั้งหมด 8 หลักสูตร แบ่งออกเป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี 8 หลักสูตร โดยทุกหลักสูตรมีผลรวมจำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัย จากภายในและภายนอกเท่ากับ 295,000 บาท และผลรวมของจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยเท่ากับ 41.5 คน ดังนี้

กราฟแสดงปริมาณทุนวิจัยคณะวิทยาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ


จำนวนทุนวิจัยที่คณาจารย์คณะวิทยาการจัดการได้รับในแต่ละปี

อ้างอิง : หน่วยงานวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี



กราฟ : แสดงทุนวิจัยที่ได้รับในปีต่างๆ ของคณะวิทยาการจัดการ


รายละเอียด

รายละเอียด

FMS Research Found

295,000

- บาท -

[ Up date : ณ วันที่ 08-03-2020 ]

ข้อมูลทุนวิจัยของคณะวิทยาการจัดการ ประจำปี2562

Up date : ณ วันที่ 08-03-2020

ประเภท (ภายนอก+ภายใน) จำนวน (บาท)
บธ.บ. การจัดาร 0
บธ.บ. การตลาด 55,000
บธ.บ. การเงินการธนาคาร 0
บธ.บ. บริหารทรัพยากรมนุษย์ 55,000
บธ.บ. คอมพิวเตอร์ธุรกิจ 40,000
ศศ.บ. เศรษฐศาสตร์ 40000
ศศ.บ. การท่องเที่ยว 55,000
การบัญชี 50,000
. . . .


เป้าหมาย ผลการดำเนินงาน คะแนนการประเมินตนเอง
3.00 ไม่บรรลุเป้าหมาย 1.42
ชื่อหลักสูตร จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยฯ จากภายในและภายนอก จำนวนอาจารย์
1. บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ 0 5
2. บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงินการธนาคาร 0 5
3. บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 55,000 5
4. บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ 40,000 5
5. บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด 55,000 5
6. บัญชีบัณฑิต 50,000 5
7. ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยว 55,000 5
8. ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ 40,000 5
ไม่ได้ประจำหลักสูตร 0 1.5
รวม 295,000 บาท 41.5
เอกสารหลักฐาน

ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 : ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย


ผลการดำเนินงาน
ในปีการศึกษา 2562 คณะวิทยาการจัดการ เปิดสอนทั้งหมด 8 หลักสูตร แบ่งออกเป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี 8 โดยหลักสูตรที่มีผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัยมีผลรวมของค่าน้ำหนักระดับคุณภาพผลงานทางวิชาการเท่ากับ 7.8 และผลรวมของจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยเท่ากับ 41.5 คน ดังนี้

ชื่อหลักสูตร ค่าน้ำหนัก จำนวนอาจารย์
1. บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ 1.8 5
2. บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงินการธนาคาร 0.6 5
3. บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 0.4 5
4. บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ 1.8 5
5. บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด 0 5
6. บัญชีบัณฑิต 1.2 5
7. ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยว 1.2 5
8. ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ 0.8 5
ไม่ได้ประจำหลักสูตร 0 1.5
รวม 7.8 41.5
เอกสารหลักฐาน


ตารางสรุปผล ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย คณะวิทยาการจัดการ ประจำปี 2562 จำนวน 42 คน

ลำดับ ผู้วิจัย ชื่อผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ ข้อมูลการตีพิมพ์เผยแพร่ ฐานงานวิจัย ผลรวมค่าน้ำหนัก
1 ผศ.นันทภัค บุรขจรกุล / สาขาการท่องเที่ยว ตำรา จิตวิทยาการบริการ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดจันทบุรี ปี 2560 วารสารนานาชาติ/ตำรา 1
2 ผศ.ธงชัย ศรีเบญจโชติ / สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ แนวทางเพื่อเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของจังหวัดจันทบุรี วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2562) หน้า 134 TCI กลุ่ม 1 0.8
3 ผศ.วัชรินทร์ อรรคศรีวร / สาขาการบัญชี การพัฒนาเอกสารคู่มือการจัดทาบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน การผลิตประมง และเกษตรอินทรีย์ บนพื้นฐานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากกรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราด วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ปีที่ 8 (1) ประจำเดือนมกราคม-มิถุนายน 2562 หน้า 55 TCI กลุ่ม 2 0.6
4 ผศ.ฉวี สิงหาด / สาขาการบัญชี ความเสี่ยงด้านการลงทุนที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพและศักยภาพธุรกิจ SME ในเขตเศรษฐกิจการค้าชายแดนภาคตะวันออกจังหวัดจันทบุรี วารสารวิจัยรำไพพรรณี ปีที่ 13 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2562 หน้า 120 TCI กลุ่ม 2 0.6
5 ผศ.ทัศนัย ขัตติยวงษ์ / สาขาการเงินการธนาคาร ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องทางการเงินที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพและศักยภาพธุรกิจ SME ในเขตเศรษฐกิจการค้าชายแดนภาคตะวันออกจังหวัดจันทบุรี วารสารวิจัยรำไพพรรณี ปีที่ 13 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2562 หน้า 130 TCI กลุ่ม 2 0.6
6 อาจารย์ ดร.ปัญญณัฐ ศิลาลาย/ สาขาการจัดการ การศึกษาเปรียบเทียบการบริหารจัดการประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง ปี 2560 วารสารวิจัยรำไพพรรณี ปีที่ 13 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2562 หน้า 101 TCI กลุ่ม 2 0.6
7 อาจารย์ศักดิ์ดา อ่างวัฒนกิจ / สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ การพัฒนาศักยภาพภูมิปัญญาประมงอินทรีย์พื้นบ้านต่อยอดในเชิงพาณิชย์สู่การเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวโดยชุมชนจากการพึ่งพาตนเองในการผลิตอาหารทะเลที่มีคุณภาพปลอดภัยเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มนำไปสู่การแข่งขันเพื่อเตรียมความพร้อมการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 14 เรื่อง “วิถีนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานวิจัยสู่เศรษฐกิจชุมชนไทยให้ยั่งยืน” วันที่ 27-28 เมษายน 2562 หน้า 238 ประชุมวิชาการระดับชาติ 0.2
8 อาจารย์ชัยวิทย์ ถิระวณัฐพงศ์ / สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ แนวทางการพัฒนากลุ่มประมงอินทรีย์พื้นบ้านในการยกระดับผลผลิตอินทรีย์สู่การสร้างเครือข่ายการค้าเชิงพาณิชย์ในรูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 14 เรื่อง “วิถีนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานวิจัยสู่เศรษฐกิจชุมชนไทยให้ยั่งยืน” วันที่ 27-28 เมษายน 2562 หน้า 135 ประชุมวิชาการระดับชาติ 0.2
9 อาจารย์ชัยวิทย์ ถิระวณัฐพงศ์ / สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ การศึกษารูปแบบการนำระบบการวางแผนทรัพยากร เพื่อช่วยในการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน สินค้าเกษตรอินทรีย์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในจังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 4 “การวิจัยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” วันที่ 31 พฤษภาคม 2562 หน้า 291 ประชุมวิชาการระดับชาติ 0.2
10 ผศ.ณรงค์ อนุพันธ์/ สาขาการจัดการ การสร้างต้นแบบห่วงโซ่อาหารของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนประมงพื้นบ้าน เกษตรอินทรีย์ สู่การเชื่อมโยงธุรกิจการท่องเที่ยวชุมชน (ตลาดท่องเที่ยวชุมชน โรงแรม รีสอร์ท โฮมสเตย์) ในการสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงพาณิชย์บนเศรษฐกิจฐานรากที่มั่นคงจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราด การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 4 “การวิจัยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” วันที่ 31 พฤษภาคม 2562 หน้า 300 ประชุมวิชาการระดับชาติ 0.2
11 อาจารย์ศักดิ์ดา อ่างวัฒนกิจ / สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ การพัฒนากลยุทธ์และการเพิ่มโอกาสทางการตลาดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนประมงเกษตรอินทรีย์บนพื้นฐานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากที่มั่นคงจังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 4 “การวิจัยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” วันที่ 31 พฤษภาคม 2562 หน้า 381 ประชุมวิชาการระดับชาติ 0.2
12 อาจารย์ต่อสันติ์ พิพัฒนสุทธิ์ / สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ความปลอดภัยในการทำธุรกรรมออนไลน์ของนวัตกรรมผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี ประจำปี 2562 การพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก วันที่ 5 กรกฎาคม 2562 หน้า 128 ประชุมวิชาการระดับชาติ 0.2
13 ผศ.ณรงค์ อนุพันธ์/ สาขาการจัดการ การศึกษาห่วงโซ่คุณค่าประมงพื้นบ้านจันทบุรีและตราด เชื่อมโยงการสร้างเครือข่ายตลาดเชิงพาณิชย์เพื่อการแข่งขันบนพื้นฐานการพึ่งพาตนเอง การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 14 เรื่อง “วิถีนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานวิจัยสู่เศรษฐกิจชุมชนไทยให้ยั่งยืน” วันที่ 27-28 เมษายน 2562 หน้า 156 ประชุมวิชาการระดับชาติ 0.2
14 อาจารย์ ดร.รมิดา กาญจนะวงศ์ / สาขาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี โดยใช้รูปแบบการสอน 5B Model การประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 13 “วิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นและจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน” วันที่ 19 ธันวาคม 2562 หน้า 51 ประชุมวิชาการระดับชาติ 0.2
15 อาจารย์สิทธิชัย ศรีเจริญประมง / สาขาการท่องเที่ยว การศึกษาผลการเรียนรู้ของนักศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติจากการจัดการเรียนการสอนด้วยสุยโมเดล ของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี การประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 13 “วิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นและจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน” วันที่ 19 ธันวาคม 2562 หน้า 1 ประชุมวิชาการระดับชาติ 0.2
16 อาจารย์เทียมจันทร์ ศรีถาน / สาขาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ กลยุทธ์การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประเภทธุรกิจค้าปลีกในเขตกรุงเทพมหานคร การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 15 เรื่อง “บูรณาการวิจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยนวัตกรรม” วันที่ 7-8 ธันวาคม 2562 หน้า 158 ประชุมวิชาการระดับชาติ 0.2
เอกสารหลักฐาน

ตัวบ่งชี้ที่ 2.4 : งานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อชุมชน


ผลการดำเนินงาน
ในปีการศึกษา 2562 คณะวิทยาการจัดการมีจำนวนงานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อชุมชนทั้งหมดเท่ากับ 10 ชิ้นงาน และผลรวมของจำนวนงานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมทั้งหมดในปีที่ประเมิน ฯ เท่ากับ 10 ชิ้นงาน ดังนี้

เป้าหมาย ผลการดำเนินงาน คะแนนการประเมินตนเอง
3.00 บรรลุเป้าหมาย 4.02
ชื่องานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรม รายชื่อผู้จัดทำงานวิจัยฯ เป็นงานวิจัยฯ ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อชุมชน
แนวทางการพัฒนาความรู้ด้านการจัดทำบัญชีของสหกรณ์โครงการบ้านมั่นคง จังหวัดจันทบุรี อาจารย์วิชิต เอียงอ่อน 1
การพัฒนาผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี โดยใช้รูปแบบการสอน 5B Model อาจารย์ ดร. รมิดา กาญจนะวงศ์ 1
การศึกษาผลการเรียนรู้ของนักศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติจากการจัดการเรียนการสอนด้วยสุยโมเดลของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี อาจารย์สิทธิชัย ศรีเจริญประมง 1
กลยุทธ์การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประเภทธุรกิจค้าปลีกในเขตกรุงเทพมหานคร อาจารย์เทียมจันทร์ ศรีถาน 1
ศักยภาพของผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ในเขตจังหวัดสระแก้วที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแข่งขัน อาจารย์กฤตติยา สัตย์พานิช 1
การศึกษาเปรียบเทียบการบริหารจัดการประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง ปี 2560 อาจารย์ปัญญณัฐ ศิลาลาย 1
ความปลอดภัยในการทำธุรกรรมออนไลน์ของนวัตกรรมผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ อาจารย์ต่อสันติ์ พิพัฒนสุทธิ์ 1
ความเสี่ยงด้านการลงทุนที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพและศักยภาพธุรกิจ SME ในเขตเศรษฐกิจการค้าชายแดนภาคตะวันออกจังหวัดจันทบุรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฉวี สิงหาด 1
ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องทางการเงินที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพและศักยภาพธุรกิจ SME ในเขตเศรษฐกิจการค้าชายแดนภาคตะวันออกจังหวัดจันทบุรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทัศนัย ขัตติยวงษ์ 1
การวิเคราะห์ตลาดผลิตภัณฑ์แอลอีดีในชุมชน ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิตติมา สิงหธรรม 1
รวม 10

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ


SAR : : Self Assessment Report


องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ


ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 : ระบบและกลไกการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน สังคม


ผลการดำเนินงาน
ในรอบปีการศึกษา 2562 คณะวิทยาการจัดการได้ดำเนินงานด้านศิลปะ วัฒนธรรม และความเป็นไทยที่ส่งเสริมความภูมิใจในความเป็นไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้กับผู้เรียน ชุมชน สังคม และประเทศชาติ โดยมีผลการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้

เป้าหมาย ผลการดำเนินงาน คะแนนการประเมินตนเอง
5.00 บรรลุเป้าหมาย 5.00
เกณฑ์การประเมิน
1.มีส่วนร่วมกับสถาบันและชุมชนในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบท ปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามจุดเน้น จุดเด่นของสถาบัน ตามศาสตร์พระราชาหรือตามแนวพระราชดำริมี
เอกสารหลักฐาน
2.จัดทำแผนบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามจุดเน้น จุดเด่นของสถาบัน ตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริและแผนการนำไปใช้ประโยชน์ ที่มีการกำหนดตัวบ่งชี้ความสำเร็จในระดับแผน
เอกสารหลักฐาน
3.ดำเนินการตามแผนการบริการทางวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมที่กำหนดไว้ตามข้อ2 โดยร่วมมือกับหน่วยงานภายในหรือภายนอกสถาบัน อย่างน้อย 1 โครงการ
เอกสารหลักฐาน
4.ประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หริอสังคมตามข้อ 2 และนำเสนอต่อกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา
เอกสารหลักฐาน
5.นำผลการประเมินตามข้อ 4 ไปปรับปรุงแผนบริการวิชาการในปีต่อไป
เอกสารหลักฐาน

ตัวบ่งชี้ที่ 3.2 : จำนวนชุมชนเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามแผนเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน


ผลการดำเนินงาน
ในรอบปีการศึกษา 2562 คณะวิทยาการจัดการได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีและชุมชนในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบท ปัญหาและความต้องการของท้องถิ่น ชุมชนหรือสังคม มีการสำรวจความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน สังคมทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและหน่วยงานวิชาชีพ เพื่อประกอบการกำหนดทิศทางในการให้บริการวิชาการและจัดทำเป็นแผนเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน พร้อมทั้งกำหนดไว้ในยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

เป้าหมาย ผลการดำเนินงาน คะแนนการประเมินตนเอง
5.00 บรรลุเป้าหมาย 5.00
รายชื่อชุมชน เป็นชุมชนเป้าหมาย เป็นชุมชนที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ชุมชนเขตอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี บริการวิชาการ 11 ครั้ง ต่อเนื่อง
เอกสารหลักฐาน
11
รวม 1 1

องค์ประกอบที่ 4 ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย


SAR : : Self Assessment Report


องค์ประกอบที่ 4 ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย

  • 4.1 ระบบกลไกด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย

ผลการดำเนินงาน
ในรอบปีการศึกษา 2562 คณะวิทยาการจัดการได้ดำเนินงานด้านศิลปะ วัฒนธรรม และความเป็นไทยที่ส่งเสริมความภูมิใจในความเป็นไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้กับผู้เรียน ชุมชน สังคม และประเทศชาติ โดยมีผลการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้

เป้าหมาย ผลการดำเนินงาน คะแนนการประเมินตนเอง
5.00 บรรลุเป้าหมาย 5.00
เกณฑ์การประเมิน
1.กำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยเพื่อการพัฒนาต่อยอดและสร้างคุณค่าตามจุดเน้นของสถาบัน
เอกสารหลักฐาน
2.จัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน
เอกสารหลักฐาน
3.มีการส่งเสริม สนับสนุนการบูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการซึ่งนำไปสู่การสืบสานการสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม การปรับและประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรม
เอกสารหลักฐาน
4.มีการกำกับติดตามให้หน่วยงานมีการดำเนินงาน และประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บริหารคณะ
เอกสารหลักฐาน
5.นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไท
เอกสารหลักฐาน

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ


SAR : : Self Assessment Report


องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ


ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 : การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน


ผลการดำเนินงาน
ในรอบปีการศึกษา 2562 คณะวิทยาการจัดการ ได้ดำเนินการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน โดยมีผลการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้

เป้าหมาย ผลการดำเนินงาน คะแนนการประเมินตนเอง
5.00 บรรลุเป้าหมาย 5.00
เกณฑ์การประเมิน
1.มีระบบและกลไกให้หลักสูตรจัดทำแผนจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน
เอกสารหลักฐาน
2.มีการกำกับ ติดตามให้หลักสูตรดำเนินการตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานตามที่กำหนด
เอกสารหลักฐาน
3.มีการกำกับ ติดตามให้หลักสูตรประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนที่กำหนด
เอกสารหลักฐาน
4.มีการนำผลไปปรับปรุงแผนจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
เอกสารหลักฐาน
5.มีแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน
เอกสารหลักฐาน

ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 : การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะ


ผลการดำเนินงาน
ในรอบปีการศึกษา 2562 คณะวิทยาการจัดการ ได้ดำเนินการบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะ โดยมีผลการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้

เป้าหมาย ผลการดำเนินงาน คะแนนการประเมินตนเอง
5.00 บรรลุเป้าหมาย 5.00
เกณฑ์การประเมิน
1.พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของคณะและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะ สถาบัน รวมทั้งสอดคล้องกับกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะและและพัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงินและแผนปฏิบัติการประจําปีตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุผลตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์และเสนอผู้บริหารระดับสถาบันเพื่อพิจารณาอนุมัติ
เอกสารหลักฐาน
2.ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขัน
เอกสารหลักฐาน
3.ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิมอย่างน้อย 1 เรื่อง
เอกสารหลักฐาน
4.บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัดเจน
เอกสารหลักฐาน
5.ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัยจัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรและนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
เอกสารหลักฐาน
6.การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน
เอกสารหลักฐาน
7. ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของคณะที่ได้ปรับให้การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานคณะตามปกติที่ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ
เอกสารหลักฐาน

ตัวบ่งชี้ที่ 5.3 : ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร


ผลการดำเนินงาน
ในรอบปีการศึกษา 2562 คณะวิทยาการจัดการ ได้ดำเนินการตามระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร โดยมีผลการดำเนินงานเกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้

เป้าหมาย ผลการดำเนินงาน คะแนนการประเมินตนเอง
5.00 บรรลุเป้าหมาย 5.00
เกณฑ์การประเมิน
1.มีระบบและกลไกในการกำกับการดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตรให้เป็นไปตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตร
เอกสารหลักฐาน
2.มีคณะกรรมการกำกับ ติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามระบบที่กำหนดในข้อ 1 และรายงานผลการติดตามให้กรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณาทุกภาคการศึกษา
เอกสารหลักฐาน
3.มีการจัดสรรทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของหลักสูตรให้เกิดผลตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตร
เอกสารหลักฐาน
4.มีการประเมินคุณภาพหลักสูตรตามกำหนดเวลาทุกหลักสูตร และรายงานผลการประเมินให้กรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา
เอกสารหลักฐาน
5.นำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากกรรมการประจำคณะมาปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เอกสารหลักฐาน
6.มีผลการประเมินคุณภาพทุกหลักสูตรผ่านองค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
เอกสารหลักฐาน

องค์ประกอบที่ 6 อัตลักษณ์ของบัณฑิต


SAR : : Self Assessment Report


องค์ประกอบที่ 6 อัตลักษณ์ของบัณฑิต

  • 6.1 การดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาทักษะความคิดเชิงระบบ PDCA สอดคล้องกับบริบทหรืออัตลักษณ์ของแต่ละคณะ หลักสูตร

ผลการดำเนินงาน
ในปีการศึกษา 2562 คณะวิทยาการจัดการ ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาทักษะ ความคิดเชิงระบบ PDCA สอดคล้องกับบริบท หรืออัตลักษณ์ของแต่ละคณะ หลักสูตรจำนวน 1 โครงการ จากจำนวนโครงการของนักศึกษาทั้งหมด 1 โครงการ โดยมีการดำเนินโครงการดังนี้ เริ่มกระบวนการตั้งแต่การวางแผนการดำเนินงานในรอบปีการศึกษา 2562 ลงมือปฏิบัติจัดโครงการจนลุล่วงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในโครงการ เมื่อมีการดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วก็มีการตรวจสอบและติดตามผลการดำเนินงานว่าเป็นอย่างไรเพื่อที่จะนำผลนั้นมาพัฒนาปรับปรุงในรอบปีการศึกษาต่อไป ซึ่งมหาวิทยาลัยได้กำหนดเกณฑ์การประเมินให้คะแนนเต็ม 5 มีค่าเท่ากับร้อยละ 80 ขึ้นไป ดังนั้น นักศึกษาคณะวิทยาการจัดการได้ดำเนินการการบริหารงานคุณภาพจนครบกระบวนการ (PDCA) จำนวน 1 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 100 จึงได้คะแนน 6.25

เป้าหมาย ผลการดำเนินงาน คะแนนการประเมินตนเอง
5.00 บรรลุเป้าหมาย 5.00

ข้อมูลพื้นฐาน จำนวน
จำนวนโครงการที่นักศึกษาดำเนินการบริหารงานคุณภาพจนครบกระบวนการ (PDCA)เอกสารหลักฐาน
1
จำนวนโครงการของนักศึกษาทั้งหมดเอกสารหลักฐาน
1

ชื่อโครงการ ดำเนินการตาม PDCA
โครงการ ส่งเสริมพัฒนาภาวะผู้นำนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการสู่ความเป็นเลิศตามรอยศาสตร์พระราชาในยุค 4.0” ในกิจกรรม “การทบทวนแผนพัฒนาและประกันคุณภาพนักศึกษา” วันที่ 7 มีนาคม 2563 ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคาร 37 คณะวิทยาการจัดการ 1
เอกสารหลักฐาน